เชฟโรเลต สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าเย็นฉ่ำได้ตลอดฤดูร้อน

  • อุณหภูมิในฤดูร้อนของประเทศไทยในปีนี้คาดว่าจะสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วอีก 1-2 องศาเซลเซียส ทำให้รถยนต์ที่จอดกลางแดดมีความร้อนจัด
  • ฟังก์ชั่นรีโมทสตาร์ทของเชฟโรเลตช่วยให้ลูกค้าสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์และ
  • เปิดระบบปรับอากาศให้ห้องโดยสารเย็นฉ่ำได้ก่อนที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะเข้าไปนั่งในรถยนต์
  • ระบบปรับอากาศที่ใช้ในรถยนต์เชฟโรเลตผ่านการทดสอบในอุณหภูมิสูงเพื่อให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Heat Map Graphic_Chevrolet Remote Start--TH
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้ว 1-2 องศาเซลเซียส ทำให้แม้แต่ในจังหวัดทางภาคเหนืออุณหภูมิก็อาจสูงถึง 42-43 เซลเซียส ลองคิดดูว่าห้องโดยสารรถยนต์ของคุณนั้นจะร้อนสักแคไหน

นักวิจัยในอเมริกาเผยว่า หากจอดรถยนต์ไว้กลางแดดในวันที่มีอากาศร้อน ห้องโดยสารอาจมีอุณหภูมิสูงถึงระดับ 46 องศาเซลเซียส และแผงแดชบอร์ดอาจมีความร้อนเกินกว่า 73 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงมากจนสามารถคร่าชีวิตผู้โดยสารที่เป็นเด็กเล็กหรือสัตว์เลี้ยง ถึงแม้บางวันสภาพอากาศจะไม่ร้อนมากนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ห้องโดยสารอาจมีความร้อนถึงระดับที่เป็นอันตราย ดังนั้นอย่าทิ้งคนหรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถยนต์ที่ปิดประตูหน้าต่างทุกบานโดยไม่ได้เปิดระบบปรับอากาศ

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าเชฟโรเลตในประเทศไทยไม่จำเป็นต้องทนต่ออากาศที่ร้อนจัด เนื่องจากเทคโนโลยีรีโมทสตาร์ทในรถกระบะ โคโลราโด และรถอเนกประสงค์ เทรลเบลเซอร์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดระบบปรับอากาศเพื่อทำความเย็นในห้องโดยสารตามอุณหภูมิที่กำหนดไว้ล่วงหน้าด้วยกุญแจก่อนที่จะเข้าไปนั่งในรถยนต์ได้ ระบบปรับอากาศของเชฟโรเลตได้รับการออกแบบให้ทำความเย็นอยู่ในระดับที่สร้างความเย็นสบายในเวลาไม่กี่นาทีด้วยช่องแอร์ที่มีในทุกแถวที่นั่ง ลูกค้าเชฟโรเลตยังสามารถเปิดหน้าต่างทุกบานได้ด้วยกุญแจรถเพื่อการระบายอากาศที่รวดเร็วและทำให้ห้องโดยสารมีความเย็นเร็วทันใจกว่าเดิม

หากผู้ขับขี่ต้องการจอดแวะทำธุระระหว่างทาง ผู้ขับขี่สามารถใช้ฟังก์ชั่นรีโมทสตาร์ทที่มีในเทรลเบลเซอร์และโคโลราโดเพื่อความปลอดภัยและความเย็นสบายของผู้โดยสารท่านอื่นที่ยังอยู่ภายในรถยนต์ โดยทำการดับเครื่องยนต์ แล้วนำกุญแจออกมาด้านนอก ล็อกประตูรถยนต์และใช้ฟังก์ชั่นรีโมทสตาร์ทเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์พร้อมสั่งการให้ระบบปรับอากาศภายในห้องโดยสารทำงานอัตโนมัติ

ลูกค้าเชฟโรเลตจะได้รับความเย็นฉ่ำและความสะดวกสบายแม้แต่ในวันที่มีอากาศร้อนจัด เนื่องจากวิศวกรฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับโลกของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ทำการทดสอบระบบปรับอากาศท่ามกลางอุณหภูมิภายนอกที่สูงถึง 46 องศาเซลเซียส เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบปรับอากาศในรถยนต์ของจีเอ็มนั้นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

การทดสอบอุณหภูมิของระบบปรับอากาศโดยทั่วไปจะต้องมีการขับขี่ทดสอบเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตรทั้งในสภาวะการใช้งานจริงและในสภาพแวดล้อมจำลอง วิศวกรทำการทดสอบที่สนามทดสอบกลางทะเลทรายของจีเอ็มในเมืองยูมา รัฐแอริโซน่า สหรัฐอเมริกา ซึ่งสภาพอากาศใน ฤดูร้อนของที่นั่นสูงถึง 42 องศาเซลเซียส และยังทำการทดสอบภายในห้องปฏิบัติการทดสอบสภาพอากาศของจีเอ็มที่มีอุณหภูมิสูงยิ่งกว่า

การทดสอบในสภาวะการใช้งานจริงและในสภาพแวดล้อมจำลองนั้น รถยนต์ที่ได้รับการทดสอบจะผ่านกระบวนการ “สะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์ (solar load) ” อย่างเต็มที่เพื่อทำให้รถยนต์ได้รับความร้อนจากการตากแดดมากที่สุด หลังจากนั้นวิศวกรของจีเอ็มจะขับรถยนต์คันดังกล่าวด้วยความเร็วคงที่เพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบปรับอากาศนั้นสามารถทำความเย็นภายในห้องโดยสารให้มีอุณหภูมิที่อยู่ในระดับเย็นสบายภายในเวลาไม่กี่นาที

“รถยนต์เชฟโรเลตได้ผ่านการทดสอบระบบปรับอากาศท่ามกลางอุณหภูมิสูง ทำให้เรามั่นใจว่า ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนอย่างประเทศไทย ลูกค้ารถกระบะโคโลราโดและรถอเนกประสงค์เทรลเบลเซอร์ จะมีระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ทุกครั้งที่เปิดใช้งาน” นายชัชวาล จันทเขต ผู้อำนวยการทั่วไปฝ่ายวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ จีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า รถยนต์ที่มีตัวถังและภายในห้องโดยสารโทนสีอ่อนจะมีอุณหภูมิลดลงรวดเร็วกว่ารถยนต์ที่มีสีเข้ม เนื่องจากสีเข้มดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่าสีอ่อน ดังนั้น รถยนต์สีอ่อนจึงมีอุณหภูมิต่ำกว่ารถยนต์สีเข้มประมาณ 5 องศาเซลเซียสเมื่อถูกนำไปทดสอบการสะสมความร้อนพร้อมกัน

นอกจากนี้ ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์สามารถช่วยลดความร้อนภายในห้องโดยสารได้เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เชฟโรเลต

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติ HTML เหล่านี้ได้: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>